What is Cognitive Distortion? อะไรคือรูปแบบความคิดบิดเบี้ยว

Cognitive Distortion คืออะไร?

ออกตัวก่อน ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่แค่อยากจะมาแชร์
เพราะว่า มันเป็นความคิดที่คนเรา เป็นกันอยู่ทั่วๆไป
ซึ่งเป็นความคิดที่ทำให้เรา รับรู้โลกได้อยากบิดเบือน เหมือนว่าเราใช้ความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง
และเป็นสาเหตุของความเครียดได้

ลองอ่านและลองคิดตาม ว่าเรามีความคิดรูปแบบพวกนี้กันอยู่รึเปล่า แต่เป็นรูปแบบความคิดที่เราเห็นได้ทั่วไป และเชื่อว่าทุกคนต้องเคยคิดมาแล้ว ซึ่ง เป็นความคิดที่ไม่จริง

เท่าที่ปุ๋ยอ่านดู มี 10 ข้อบ้าง 12 หรือ 15 ข้อบ้างแล้วแต่...


ที่มา : positivepsychology.com 



ที่มา: pinterest


ทั้งสองรูป รูปแรกจะมี 15 ข้อ รูปที่สอง 10 ข้อ
แต่ทั้งสองรูป จะมีข้อเหมือนกันอยู่ สรุปคือเหมือนกัน แต่ว่า 15 ข้ออาจจะมีข้อยิบย่อยเพิ่มขึ้นมา

อยากให้ทุกคนเอาไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันกัน จะได้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรรับรู้ และทำให้ทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตได้มากขึ้น

ใครอยากจะอ่านภาษาอังกฤษก็ได้ หรืออยากอ่านภาษาไทยก็ขอแปลตามนี้ (15 ข้อนะ เยอะหน่อยแต่รับรองว่าจะทำให้การมองโลกของคุณดีขึ้น)

1. Filtering : ชั้นรับรู้แต่สิ่งที่ชั้นอยากจะรู้ สิ่งที่ไม่อยากรู้กรองออก ไปโฟกัสแต่อะไรที่อยากจะรับ เช่น มีเพื่อนมาพูดเกี่ยวกับ คนที่เราไม่ชอบ เราก็จะโฟกัสแต่ข้อแย่ๆของคนๆนั้น โดยที่ไม่คิดถึงสิ่งดี ซึ่งบุคคลที่เราไม่ชอบก็ต้องมีอะไรที่ดีอยู่แล้ว

2. Polarized thinking : เป็นความคิดที่มีแต่ขาวและดำ ไม่มีตรงกลาง ถ้าไม่ถูกก็คือผิด ไม่มีส่วนกลางๆที่ทั้งถูกและผิด เช่น เราทำผิดอย่างหนึ่ง แต่เราเหมารวมกลายเป็นว่า เราไม่มีดีซักอย่าง ซึ่งไม่ถูกเพราะ คนเรามีดี และแย่รวมๆกัน 

3. Overgeneralization : ความคิดที่คิดเหมารวม จากประสบการณ์ที่เคยพบเจอเพียงนิดเดียว เช่น เคยไปสัมภาษณ์งานแต่ว่าทำได้ไม่ดี แทนที่จะคิดพยายามใหม่ ก็เลยคิดว่า ชั้นทำแบบนี้ได้ไม่ดี และคงไม่ได้งาน

4. Jumping to conclusion : คล้ายๆกับ Overgeneralization แต่ว่าอันนี้คือ สรุปโดยที่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย เช่น คิดเอาเองว่าคนอื่นไม่ชอบเรา โดยที่ไม่ได้มีหลักฐานอะไรเลย 

5. Catastrophizing/ Magnifying or Minizing : คาดการณ์ที่แย่ๆ หรือ แย่ที่สุดไว้ก่อน โฟกัสแต่สิ่งแย่ๆ โดยที่นึกถึงความดีน้อยมาก เช่น ทำความผิดเล็กน้อยในโปรเจคที่กำลังทำอยู่ ก็กลัวว่าหัวหน้าจะตำหนิ หรืออาจจะโดนไล่ออก โดยที่ไม่ได้นึกถึงสิ่งที่เคยทำดี ซึ่งความเป็นจริงความผิดเล็กน้อย อาจจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อโปรเจคเลยก็ได้

6. Personalization : คิดว่าเราต้องรับผิดชอบทุกสิ่งอย่างในชีวิต เช่น ไปประชุมสายเลยทำให้การประชุมออกมาไม่ดี และถ้าเราไปทันเวลาอาจจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ซึ่งอาจจะไม่จริง การไปเร็วไม่ได้มีอะไรการันตี ว่าการประชุมจะออกมาดี

7. Control Fallacies : เชื่อว่าความผิดบางอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือ ตนเอง อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีตรงกลาง 

8. Fallcy of Fairness : คิดถึงเปาบุ้นจิ้น ต้องยุติธรรมตลอดเวลา แต่ทุกๆคนรู้ถึงความจริงอยู่แล้วว่า โลกนี้ไม่ได้มีความยุติธรรมเสมอไป คนที่คิดว่าต้องยุติธรรมตลอดเวลา เหมือนการยึดติด บางทีก็ต้องปล่อยมันไปบ้าง

9. Blaming : ชอบโทษสิ่งๆใดสิ่งหนึ่ง คนเราจะมีวิธีการหาเหตุผลให้กับสิ่งๆใดสิ่งหนึ่งเสมอ และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ หาคนมารับผิดชอบ ก็คือการโทษคนอื่น แต่มีคุณเท่านั้นที่จะรับผิดชอบกับสิ่งที่คุณคิดและกระทำ

10. Shoulds :  กำหนดเงื่อนไขให้ตัวเองว่า ชั้นควรทำสิ่งนี้ หรือ คนอื่นควรทำสิ่งนี้ เมื่อคนอื่นไม่ทำสิ่งที่เราคิดว่าควร เราจะโกรธ ถ้าเราทำสิ่งที่เราคิดว่าไม่ควร เราจะรู้สึกผิด ซึ่งตลกดี เพราะปุ๋ยเคยเจอคนแบบนี้ 555555555 ใครที่เป็นแบบนี้ พยายามเลิกซะนะ มันทำให้คนรอบข้างรู้สึกอึดอัด และตัวเองก็รู้สึกไม่สบายใจเช่นกัน ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น กำลังโทรไปคอมเพลนบริการกับ ฝ่ายบริการลูกค้า แต่ถ้าฝ่ายบริการลูกค้าไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้ เราก็จะโกรธและ คอมเพลนหนักๆ ซึ่งพนักงานไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบในการถูกด่า แต่ก็ต้องโดนเราด่า เกทมะ

11. Emotional Reasoning :  ใช้อารมณ์ส่วนตัวในการคิดสิ่งต่างๆ เช่น ชั้นรู้สึกแบบนี้ มันก็ต้องเป็นแบบนี้ สมมติ คิดว่า เราไม่สวย เราก็จะไม่สวย ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เราก็มีความสวยของเรา 555555

12. Fallacy of Change : อยากให้คนรอบข้างเปลี่ยนในแบบที่เราอยากให้เป็น รู้สึกว่าความสุขของเราไปขึ้นอยู่กับชาวบ้าน หรือคนอื่น เช่น อยากให้แฟนคุยโทรศัพท์ด้วยตลอดเวลา แต่จริงๆแล้วแฟนไม่ได้อยากทำ พอแฟนไม่ทำ ก็รู้สึกแย่ ความรู้สึกนี้เป็นการทำร้ายตัวเองอย่างยิ่ง เพราะว่า ไม่มีใครต้องรับผิดชอบต่อความสุขของเรา นอกจากตัวเราเอง

13. Global labelling / mislabelling : เป็นขั้นกว่า หรือ ขึ้น extreme ของ overgeneralization คือยกรวมไปเลยว่าถ้าชั้นไม่ดีในสิ่งๆนี้ ชั้นก็ไม่มีอะไรดีเลย หรือถ้ามีคนแปลกหน้ามาพูดจาไม่เพราะใส่นิดหน่อย ก็เหมาไปว่า คนๆนี้ พูดจาไม่ดี ไม่ได้เรื่อง หรือใช้คำที่ดูแรงกว่าความเป็นจริง เช่น ถ้ามีคุณแม่คนหนึ่ง มีลูกเล็ก แล้วให้พี่เลี้ยงช่วยดูลูกแทน ก็นึกว่าเค้าไม่มีความรับผิดชอบกับลูก เป็นต้น

14. Always being right : กูถูกกกกกกเสมออออ!!! คิดว่าความถูกต้องสำคัญกว่าความรู้สึกของผู้อื่น 

15. Heavens' Reward Fallacy : คิดว่าเวลาเราทำดี เราก็จะได้รับสิ่งตอบแทบเสมอ แต่พอไม่มีสิ่งตอบแทน เราก็จะรู้สึกแย่ คือความเป็นจริงเวลาเราทำดี มันก็จะไม่ได้มีสิ่งตอบแทนเสมอไป อันนี้เราต้องเข้าใจกัน

อยากให้ทุกคนเอาไปปรับใช้กัน ทำชีวิตของทุกคนให้มีความสุขนะคะ ^^



No comments